วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ความขัดแย้งระหว่างเพศ

         คือ ความไม่เห็นพ้องต้องกัน ควานไม่ลงรอยกันระหว่างผู้ชายและผู้หญิง อันเนื่องมาจากความแตกต่างทางความคิด ความเชื่อ และค่านิยมที่แตกต่างกัน อาจเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ทุกรูปแบบ เช่น เพื่อนร่วมงาน เจ้านายกับลูกน้อง เพื่อน คนรัก สามีภรรยา เป็นต้น เนื่องจากในสังคมทุกคนล้วนต้องมีปฏิสัมพันธ์กับเพศตรงข้ามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพศชายและหญิงซึ่งมีความแตกต่างทางกายภาพเป็นพื้นฐานย่อมถูกเลี้ยงดูและอยู่บนความคาดหวังของสังคมที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ปกติที่จะเกิดความขัดแย้ง



แนวทางการป้องกันและแก้ไขความขัดแย้งเรื่องเพศ 

1.   ทักษะการเข้าใจผู้อื่น
พยายามเข้าใจ และยอมรับความแตกต่างของเพศตรงข้าม เนื่องจากเพศชายและหญิงมีธรรมชาติที่แตกต่างกัน ถูกเลี้ยงดุมาในกรอบที่แตกต่างกัน เมื่อต้องมาอยู่ร่วมกัน ย่อมมีความเห็นที่แตกต่างกันเป็นธรรมดา

2.   ทักษะการตระหนักรู้ในตน
สำหรับประเด็นเรื่องเพศสัมพันธ์นั้น วัยรุ่นควรตระหนักว่าเราอยู่ในสังคมไทย ดังนั้นจึงปฏิบัติตนให้อยู่ในกรอบจารีตประเพณีของสังคมไทย ทำความเข้าใจ รู้เท่าทันค่านิยม และวัฒนธรรมต่างชาติที่ไม่เข้ากับลักษณะสังคมไทย

3.  ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
วัยรุ่นควรคิดไตร่ตรองด้วยเหตุผล และเปิดใจให้กว้าง ปรับเปลี่ยนทัศนคติบางประการที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งได้ เช่น ผู้ชายมีสิทธิ์ในตัวผู้หญิง การมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนเป็นเรื่องที่แสดงความเก่งของตนความรักคือการยอมให้มีเพศสัมพันธ์ด้วย เป็นต้น

4.   ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
ในการสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่นให้ยั่งยืน เราควรมีความรักและความปรารถนาดีให้แก่กันเสมอ เนื่องจากความรักและความปรารถนาดีนั้น ย่อมส่งผลให้เราแสดงออกแก่กันในทางที่ดี และหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพลาดพลั้งหรือไม่สามารถทำได้อย่างที่คาดหวัง ก็ควรให้อภัยแก่กันและกัน


5.   ทักษะการแก้ไขปัญหา
หากเกิดความขัดแย้งขึ้นมาแล้ว ก็ไม่ควรปล่อยให้ความขัดแย้งนั้นดำรงอยู่นาน หรือปล่อยเลยตามเลย และหวังให้เวลาเยียวยาความขัดแย้ง แต่ควรจะหันหน้าเข้าหากัน ร่วมมือกันแก้ไขปัญหา


6.    ทักษะการจัดการกับอารมณ์
ต้องรู้จักปล่อยวางหากเพศตรงข้ามเราต้องติดต่อสัมพันธ์ด้วยมีพฤติกรรม หรืออุปนิสัยที่เราไม่สามารถยอมรับได้ ก็พยายามมองข้ามและปล่อยวาง ไม่ควรเก็บเอาอุปนิสัยหรือพฤติกรรมนั้นมาเป็นสาเหตุของความไม่พอใจซึ่งจะนำไปสู่ความขัดแย้งได้


7.    ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
หันหน้าเข้าหากัน และพยายามพูดคุยกันโดยใช้เหตุผล พยายามหาสาเหตุของความขัดแย้งนั้นว่าเกิดจากอะไร มีความเข้าใจผิดอะไรหรือไม่ พูดคุยถึงความต้องการ ความคาดหวังและความรู้สึกที่แท้จริงของแต่ละฝ่าย

8.   ทักษะการคิดสร้างสรรค์
พยายามคิดในเชิงสร้างสรรค์ มองว่าทุกปัญหาความขัดแย้งทุกความขัดแย้งย่อมมีทางออก ช่วยกันมองหาทางออกที่ทั้งสองฝ่ายพอใจ


_________________________________________________________________________________

สมาชิกกลุ่ม ม.5/9
1. น.ส. เขมิกา  จันทิวาสน์ เลขที่ 1
2. น.ส. ณิชาพร  เฉลิมสุข เลขที่ 2
3. น.ส. พิมพ์พิสุทธิ์  จันทร์พานิช เลขที่ 3
4. นาย จักรกฤษณ์  คุรุรัตนพันธ์ เลขที่ 9
5. นาย ศิรวิชญ์  อุดมศรี เลขที่ 18
6. นาย ศุภณัฐ  ศักดิ์ชัยนานนท์ เลขที่ 19

เสนอ
อาจารย์ จัตวา  อรจุล

เนื้อหาและรูปภาพประกอบเพื่อการศึกษา ไม่ได้มุ่งหวังผลประโยชน์ทางการค้าใดๆ
_________________________________________________________________________________


อ้างอิงเว็บไซต์
       Mika Rain. (2556). เพศที่แตกต่าง. เว็บไซต์ออนไลน์: http://sweet-water2.blogspot.com/2013/08/blog-post_22.html สืบค้นเมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2558
       -. (-). ความขัดแย้งในเรื่องเพศและครอบครัว.  เว็บไซต์ออนไลน์: https://sites.google.com/site/30293mint/ สืบค้นเมื่อ: 18 พฤศจิกายน 2558

อ้างอิงรูปภาพ
       http://yana.com/topic?id=4
       http://www.banktarot.com/understanding-other/#prettyPhoto/1/
       http://wallpaperwidehd.blogspot.com/2014/05/smiley-face-wallpaper.html
       https://ohsheshines.wordpress.com/category/crossfit/page/2/
       http://www.kumarnthong.com/viewthread.php?tid=11684
       http://www.morganmckinley.ie/article/let%E2%80%99s-shake-it-what%E2%80%99s-value-hand-shake

-ขอบคุณค่ะ-